Topต้นไม้ 5 ชนิด ไม้ยืนต้น โตไวให้ร่มเงา !

Last updated: 10 มิ.ย. 2566  |  6387 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Topต้นไม้ 5 ชนิด ไม้ยืนต้น โตไวให้ร่มเงา !

Topต้นไม้ 5 ชนิด ไม้ยืนต้น โตไวให้ร่มเงา !


                                                            (ที่มา:https://home.kapook.com/view44455.html)

  • หูกระจง 

ลักษณะ
          เป็นไม้ทรงพุ่มสวยงามแตกกิ่งเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 50-100 ซม.
หูกระจงเป็นไม้ผลัดใบ แต่ จะผลัดใบน้อยกว่าหูกวาง ปกติเป็นไม้ที่ชอบน้ำเมื่อนำไปปลูกในกระถางหรือลงดินแล้วรดน้ำให้ชุ่มและสม่ำเสมอ ใบแทบจะไม่ร่วงเลย ที่มาของชื่อ"หูกระจง"เป็นเพราะลักษณะใบคล้ายกับหูกวาง แต่ใบหูกระจงจะมีขนาดเล็กกว่า สำหรับดอกมีสีขาวคล้ายดอกกระถินณรงค์ เมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับเมล็ดพุทรา *ปัจจุบันการขยายพันธุ์ต้นหูกระจงนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดเนื่องจากเจริญเติบโตได้เร็ว และได้ทรงพุ่มที่สวยงาม

                                                                                                                                      (ที่มา:https://www.pptvhd36.com/travel/thailand/192577)

  • ชมพูพันธุ์ทิพย์

ลักษณะ
        ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ เรือนยอดรูปไข่ทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทา/สีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย   
ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร
ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร
ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอกมีสีชมพูอ่อน ชมพูสดถึงสีขาว กลางดอกมีสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย
ผลเป็นผลแห้ง แตกเป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน
สีน้ำตาล มีปีก *ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง


            (ที่มา:https://www.samunpri.com/%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5/)

  • นนทรี

ลักษณะ      เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมรูปไข่ เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนค่อนข้างเรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบประกอบแบบชนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ ช่อใบหลักยาว 20-30 เซนติเมตร ช่อแขนงใบย่อยเรียงตรงข้าม 9-16 คู่ ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-18 เซนติเมตร ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
ช่อดอกยาว 20-30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.6-1.8 เซนติเมตร ผลแห้งแก่ไม่แตก เป็นฝักแบนๆ รูปรี ปลายและโคนผลสอบแหลม
สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ มี 1-4 เมล็ดต่อฝัก


(ที่มา:https://puechkaset.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87/)

  • หูกวาง
ลักษณะ

        เป็นไม้ยืนต้นอายุยาวนาน สูงได้ถึง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแกมดำ ลอกออกตามยาว กิ่งก้านแผ่ออกเป็นชั้น กิ่งมีสีน้ำตาล ใบออกสลับ อัดแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านใบกลม
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–2 เซนติเมตร รูปไข่แกมขอบขนาน
ปลายใบแคบยาวประมาณ 12–30 เซนติเมตร กว้าง 8–15 เซนติเมตร ผิวทั้งสองด้านเกลี้ยงเกลาหรือมีขนเบาบางตามแนวแกน เมื่อยังอ่อน ฐานใบจะแคบ ตัดปลายหรือปลายทู่ เส้นใบ 10–12 คู่ ช่อดอกออกตามซอกใบเรียบง่าย ยาว แหลมเรียว 15–20 เซนติเมตร ออกดอกจำนวนมาก
ดอกมีสีขาวในระยะเวลาสั้นๆ มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง/ปลายกลีบดอก 0.7–0.8 เซนติเมตร
รังไข่หนาแน่นมากรูปถ้วยบาง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 แฉก ยาว 0.2–0.3 เซนติเมตร
ผลไม่แตกลาย เมื่อสุกสีแดงหรือเขียวอมดำ ทรงรี แบนข้างเล็กน้อย มี 2 ปีก (ปีกกว้าง 3 มม.) ผลยาว 3–5.5 เซนติเมตร กว้าง 2–3.5 เซนติเมตร เกลี้ยงเกลา เมื่อแก่จัดเปลือกผลแบบเปลือกไม้ออกดอกช่วง มี.ค.–มิ.ย. ออกผลช่วง พฤษภาคม, ก.ค.–ก.ย.  *สถานะเกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบางพื้นที่

 

                                                             (ที่มา:https://shorturl.asia/PgaFR)   

  • จามจุรี

ลักษณะ

         จามจุรีแดง (มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี) หรือ ก้ามปู, ฉำฉา เป็นพืชในวงศ์ถั่วเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร *เมล็ดเมื่อรับประทานทำให้ปวดศีรษะ อาเจียน ถ้าเป็นพิษรุนแรง ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่สม่ำเสมอ ทำให้ชักได้
ขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม 
โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ

ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2-10 คู่ ใบรูปไข่รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบบิดเบี้ยว ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น 
ไม่มีก้านใบย่อย 
สีเหลืองปนเขียว กลีบเลี้ยง 7-8 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดเป็นถ้วย 
ปลายแยก 5 แฉกเป็นรูปแตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวโผล่พ้นกลีบดอก สีชมพูอ่อน 
บริเวณโคนมีสีขาว ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง 
ช่อดอกยาว 3 ซม. /ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก

ผลเป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ กว้าง 1.5-2.4 ซม. ยาว 15-20 ซม. คอดเป็นตอนระหว่างเมล็ด  เมล็ด แบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มม. ยาว 10 มม.

 



วัตถุประสงค์ : จัดทำและเรียบเรียงขึ้นเพื่อ ประกอบ/แนะนำ/กระจายความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้ามาอ่านในเว็บไซส์ *มิได้มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ 

ขอบคุณบทความจากเว็บไซส์ 
https://th.wikipedia.org/wiki/จามจุรี
https://th.wikipedia.org/wiki/หูกรจง
https://th.wikipedia.org/wiki/หูกวาง
https://th.wikipedia.org/wiki/ชมพูพันธุ์ทิพย์
https://th.wikipedia.org/wiki/นนทรี
ขอบคุณสื่อ/รูปภาพ  (ที่มาอยู่ใต้ภาพ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้